หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 4 (สาขาวิศวกรรมยานยนต์)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (4ปี)
1. ชื่อหลักสูตร
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมยานยนต์์
Bachelor of Engineering Program in Automotive Engineering

2. ชื่อปริญญา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมยานยนต์)
ชื่อย่อ วศ.บ. (วิศวกรรมยานยนต์)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Bachelor of Engineering (Automotive Engineering)
ชื่อย่อ B.Eng. (Automotive Engineering)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์

ปรัชญา
ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์มุ่งที่จะผลิตบัณฑิตสาขาวิศวกรรมยานยนต์ ให้เป็นผู้มีความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพด้านสาขาวิศวกรรมยานยนต์ เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม โดยให้นักศึกษาได้ศึกษาทั้งในห้องบรรยายและห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ และส่งนักศึกษาเข้าเรียนรู้ประสบการณ์จริงจากสถานประกอบการ อีกทั้งมุ่งพัฒนาให้เป็นวิศวกรซึ่งมีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

วัตถุประสงค์
คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาเทคโนโลยียานยนต์ มีดังต่อไปนี้
1. มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์และออกแบบทางด้านเทคโนโลยียานยนต์ได้
2. มีความรู้เฉพาะทางที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมไทย
3. มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และนำไปประยุกต์ใช้ได้
4. มีความรู้ด้านการผลิตและการบริการยานยนต์
5. มีความริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
6. มีทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
7. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย

5. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษา ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
– สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.6) สายวิทยาศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) สาขาช่างอุตสาหกรรม จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะหรือสาขาที่มหาวิทยาลัยเห็นชอบ
– ไม่เป็นผู้เป็นโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
– ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย และไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดีงาม

6. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
ผู้สมัครเข้าเป็นนักศึกษาต้องผ่านการสอบคัดเลือกตามระเบียบของมหาวิทยาลัยสยาม โดยมีรายวิชาที่สอบคัดเลือก คือ

  1. คณิตศาสตร์
  2. ฟิสิกส์และเคมี
  3. ภาษาอังกฤษ
  4. ความถนัดทางวิศวกรรม

7. ระบบการศึกษา
ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสยามว่าด้วยการศึกษาไม่สูงกว่าระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544 ข้อที่ 5 ดังนี้

  • มหาวิทยาลัยสยามจัดการศึกษาสำหรับปริญญาตรีเป็นระบบทวิภาค โดยแบ่งเวลาการศึกษาในหนึ่งปีเป็นสองภาคการศึกษาปกติ คือ ภาคการศึกษาที่หนึ่งและภาคการศึกษาที่สอง และหากเห็นสมควรมหาวิทยาลัยอาจจัดให้มีการศึกษาภาคฤดูร้อนได้
  • การกำหนดปริมาณการศึกษาของแต่ละรายวิชา ให้กำหนดเป็นหน่วยกิต โดยมีเกณฑ์ต่อไปนี้
    1. การศึกษาภาคทฤษฏี การบรรยาย สัมมนา หรือการเรียนการสอนในลักษณะอื่นที่เทียบเท่าให้คิด 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง ตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติเป็นปริมาณการศึกษา 1 หน่วยกิต
    2. การศึกษาภาคปฏิบัติ การทดลอง การฝึก หรือการศึกษาที่เทียบเท่าให้คิด 2 ถึง 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือตั้งแต่ 30 ถึง 45 ชั่วโมงต่อหนึ่งภาคการศึกษา เป็นปริมาณการศึกษา 1 หน่วยกิต
    3. การศึกษาที่เป็นการฝึกงาน การฝึกภาคสนาม หรือการฝึกอื่นใดให้คิด 3 ถึง 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือตั้งแต่ 45 ถึง 90 ชั่วโมง ตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติเป็นปริมาณการศึกษา 1 หน่วยกิต
    4. การศึกษาบางรายวิชาที่มีลักษณะพิเศษไปจากรายวิชาปกติ มหาวิทยาลัยอาจกำหนดหน่วยกิตโดยใช้หลักเกณฑ์อื่นใดก็ได้ตามความเหมาะสม

8. ระยะเวลาการศึกษา
การศึกษาตลอดหลักสูตรจะต้องได้หน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 149 หน่วยกิต และใช้เวลาในการศึกษาอย่างมากไม่เกิน 8 ปีการศึกษา ทั้งนี้นับจากวันที่เปิดภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษา และจะสำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 7 ภาคการศึกษา

9. การลงทะเบียนเรียน
ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสยามว่าด้วยการศึกษาไม่สูงกว่าระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544 ข้อที่ 7 ดังนี้

  • ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษา ต้องขึ้นทะเบียนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนตามกำหนด วัน เวลา สถานที่ และรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาตามประกาศของมหาวิทยาลัย
  • จำนวนหน่วยกิตที่นักศึกษาจะลงทะเบียนได้ในแต่ละภาคการศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสยาม ว่าด้วยการศึกษาที่ไม่สูงกว่าระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544

10. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสยามว่าด้วยการศึกษาไม่สูงกว่าาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544 ข้อที่ 12 ดังนี้การวัดผลและการประเมินผลการศึกษาให้สิ้นสุดการศึกษาแต่ละภาค โดยคิดจากผลการสอบหรืองานอื่น ๆ ที่ผู้สอนให้ปฏิบัติในระหว่างภาคการศึกษาการสำเร็จการศึกษา นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • ศึกษาครบรายวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
  • ไม่แต้มเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
  • มีความประพฤติดี เหมาะสมแก่ศักดิ์ศรีแห่งปริญญานั้น

11.อาจารย์ผู้สอน
ดูจากเอกสาร โครงการเปิดดำเนินการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมยานยนต์

12. สถานที่และอุปกรณ์การสอน
ใช้สถานที่และอุปกรณ์การสอนของคณะวิศวกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัย

13. ห้องสมุด ใช้ห้องสมุดที่สำนักหอสมุดกลาง ซึ่งมีเอกสารสิ่งพิมพ์และสื่อการสอนอื่น ๆ

  • ตำรา ประมาณ 135,000 เล่ม
  • วารสาร ประมาณ 600 รายการ

โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร    149    หน่วยกิต

โครงสร้างของหลักสูตร
ก. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต ประกอบด้วย
– กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์    3    หน่วยกิต
– กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์    3    หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาภาษา    18    หน่วยกิต
– – กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์    6    หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะสาขา 113 หน่วยกิต ประกอบด้วย
– กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์เบื้องต้น    21    หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาวิศวกรรมศาสตร์พื้นฐาน    35    หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาบังคับเฉพาะสาขา    42    หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะสาขา    15    หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต ประกอบด้วย
รวมทั้งสิ้นต้องเรียนไม่ต่ำกว่า    149    หน่วยกิต