โครงการ งานวิจัย และการพัฒนา (สาขาวิศวกรรมยานยนต์)

1.0 Honda Econo Power Contest ครั้งที่ 8 รอบคัดเลือก
นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์เข้าร่วมแข่งขันรถประหยัดน้ำมัน การแข่งขัน Honda econo power contest 2005 ครั้งที่ 8 ระดับภุมิภาค ณ กองพัน 2 จ.ลพบุรี ซึ่งมีทีม Super Save (ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ มหาวิทยาลัยสยาม) สามารถทำสถิติได้ 545.482 กม./ลิตร โดยอยู่ในระดับที่ 16 ในการแข่งขันระดับอุดมศึกษา ของการแข่งขันระดับภูมิภาคทั้งสี่ภาค การแข่งขันระดับประเทศจะทำการแข่งขันที่ กรมทหารราบที่ 11 กรุงเทพฯ ในวันที่ 28-29 ม.ค. 49

1.1 Honda Econo Power Contest ครั้งที่ 8 รอบตัดสิน
การแข่งขัน Honda Econno Power Contest ครั้งที่ 8 สนามแข่งขันระดับประเทศ ณ กรมทหารราบที่ 11 ทีม Super Save มหาวิทยาลัยสยามทำสถิติได้ 695.2957 กม./ลิตร ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 10 ในระดับอุดมศึกษา

 
2. เครื่องสเตอร์ลิงแบบลูกสูบของเหลว Liquid Piston Stirling Engine 
งานวิจัยเครื่องยนต์สเตอร์ลิงแบบลูกสูบเหลวต้นแบบ ที่อาจารย์ สมพร ตันติวงศ์ไพศาล และนักศึกษา ได้ศึกษาและพัฒนาเครื่องยนต์้สเตอร์ลิงเป็นเครื่องแรกในประเทศไทย
หลักการทำงาน
เครื่องยนต์ดังกล่าวประกอบด้วยหลอดแก้วตัวยูต่อเข้ากับปั๊มน้ำที่ทําด้วยแก้ว เพื่อจะได้เห็นการทํางานของทั้งระบบ เครื่องยนต์ทํางานโดยแหล่งกําเนิดพลังงานเป็นขดลวดความร้อนขนาด 100 วัตต์ ให้ความร้อนแก่อากาศเหนือผิวน้ำในหลอดแก้วตัวยูด้านหนึ่ง (heater) อีกด้านหนึ่งของตัวยูเป็นส่วนระบายความร้อน (cooler) เมื่ออากาศภายในหลอดแก้วตัวยูได้รับความร้อนจะเกิดการขยายตัวดันให้น้ำเคลื่อนที่ลงทําการปั๊มน้ำออกจากระบบปั้ม ในขณะที่ด้านระบายความร้อนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าทําให้อากาศมีปริมาตรลดลงดึงให้ระดับน้ำในหลอดแก้วตัวยูด้านระบายความร้อนเคลื่อนที่ขึ้น เมื่อระดับของน้ำด้านระบายความร้อนถูกดูดยกขึ้นทําให้ระดับน้ำด้านให้ความร้อนต่ำลง และด้วยน้ำหนักของน้ำด้านระบายความร้อนที่มากกว่าระดับน้ำด้านให้ความร้อน ทําให้เกิดการไหลกลับของน้ำไปที่ด้านให้ความร้อนและเกิดการดูดน้ำจากปั๊มเข้าสู่เครื่องยนต์ เพื่อรักษาปริมาณน้ำในระบบเครื่องยนต์ให้คงที่ ระดับน้ำในหลอดแก้วด้านให้?ความร้อนจึงถูกยกสูงขึ้นกว่าระดับน้ำด้าน ระบายความร้อน และเมื่ออากาศได้?รับความร้อนจากขดลวดความร้อนก็เกิดการขยายตัวดันน้ำจากด้านให้ความร้อนให้เคลื่อนที่ไปทางด้านระบายความร้อนพร้อมทั้งปั๊มน้ำออกจากระบบปั๊ม และจะทํางานเป็นวัฏจักรแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ตราบใดที่ยังให้พลังงานแก่ระบบเครื่องยนต์จากการทดสอบพบว่าสามารถปั๊มน้ำได้เป็นอย่างดี และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีความสามารถในการดูดน้ำและส่งน้ำได้สูงสุดประมาณ 50 เซนติเมตร ให้อััตราการไหลของน้ำสูงสุดประมาณ 300 มิลลิลิตรต่อนาที